โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ

ปัจจุบันพบได้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่มักใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นประจำ มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน ส่งผลทำให้เกิดอาการมือชา

นิ้วล็อคได้ ซึ่งหากถ้ายังปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการมักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

👉 #ปัญหาที่พบบ่อยครั้ง เกี่ยวกับอาการมือชา คือเมื่อตื่นมามักมีอาการปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือ ขยับนิ้วมือได้ไม่คล่อง ขยับนิ้วไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือเริ่มรู้สึกว่าเมื่อ

งอนิ้วแล้วเหยียดนิ้วไม่ออก ต้องคอยช่วยคลายมือออก รวมไปถึงอาการปวดของนิ้วที่ใช้งานได้ไม่คล่องเหมือนปกติ

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อ เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือและต้องเข้ารับการฟื้นฟู ทำกายภาพบำบัดจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งหญิงและชาย ซึ่งอาการที่พบเป็นประจำ ได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบไม่ได้ และอาการของนิ้วล็อก คือนิ้วบางนิ้วแข็งเกร็ง ขยับแทบไม่ได้ เมื่องอหรือเหยียดนิ้วออก

แล้วจะเจ็บปวดมาก เมื่อสอบถามประวัติคนไข้ ก็จะได้คำตอบที่คล้ายๆ กัน คือส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์

นักออกแบบกราฟิก พนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่ กลุ่มนักกอล์ฟ กลุ่มพนักงานนวดแผนไทย คนทำงานตามโรงงานที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของซ้ำๆ

ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือพ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลา แม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้าถูบ้านที่ต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ

เรามาดูกันดีกว่าว่า อาการต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? หากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทัน และไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้น

 

โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ

โรคมือชา เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือโดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ

และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชาร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคน

พบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลงเมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง โรคนี้พบในเพศหญิงมากกว่าชาย

ส่วนวัยที่พบบ่อย 30-60 ปี

 

อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ ?

สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ก็ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับได้ เช่น เกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ

เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์

และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน ล้วนมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดโรค

 

ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้…ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอน และหลังจากการใช้มือข้างนั้นๆ
  • การรับความรู้สึกลดลง โดนเฉพาะที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลงทำให้หยิบจับของไม่ถนัด
  • มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อต เมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือ ในบริเวณที่มีเส้นประสาททอดผ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1 นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง

 

การรักษาอาการมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ

ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยอาจจะใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอนและช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
  • รับประทานยาลดการอักเสบ
  • ถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ เส้นเอ็นที่มีการอักเสบและบวม ทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็จะน้อยลง ซึ่งปริมาณยาที่ใช้ฉีดจะไม่มากนัก และไม่มีอันตรายที่รุนแรง

 

การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืดเส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดและชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทในทันที ต้องใช้ฟื้นตัวอีกสักระยะหนึ่ง

 

ขอบพระคุณข้อมูลอ้างอิง

นพ. สิรพัชร โพธิ์พุก
นพ. กอบศักดิ์ อุดมเดช
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ

นพ. ธไนนิธย์ โชตนภูติ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก

ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์

หมดความกังวลและสงสัยอาการที่คุณเป็นอยู่
☎️ โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก โทร. 0-5505-1724

#โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก #BangkokHospitalPhitsanulok
#ทุกบริการคือความใส่ใจ #ทุกความห่วงใยนั้นมอบให้คุณ
#ผ่าตัดเหมาจ่าย #ถุงน้ำที่ข้อมือ #พังผืดกดทับเส้นประสาทที่มือ

แหล่งที่มา :

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Herpangina

โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)

รคติดต่อเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย มักระบาดในช่วงฤดูฝน และพบบ่อยในเด็กอายุ 2 ถึง 10 ปี เป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้จะติดต่อกันได้ในสถานที่ที่มีเด็กๆ อยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก

อ่านต่อ »