ศูนย์ดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต (ICU) คุณภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก

 

“ICU แห่งเดียว ที่เป็นห้องแยกรายบุคคล”

 

ความแตกต่างของสถานที่ BPL เราเป็นหัวแยกรายบุคคล ข้อดีของการแยกห้องคือ ?
ห้องแยกในหน่วย (ICU) มีข้อดีหลายประการ

  • การควบคุมการแพร่เชื้อ : การแยกห้องช่วยลดความเสี่ยงที่จะระบาดโรคติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยที่ต้องการรักษา. ทำให้สามารถควบคุมการแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับผู้ป่วยอื่น ๆ และบุคลากรทางการแพทย์
  • การดูแลแบบบุคคล : การมีห้องแยกช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถให้การดูแลที่แตกต่างกันไปตามความเร่งด่วนและความรุนแรงของสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย
  • ความเป็นส่วนตัว : ห้องแยกช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งอาจมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในสถานการณ์ที่แสดงออกถึงความเสี่ยงทางสุขภาพหรือมีสภาวะทางจิตเช่นภาวะซึมเศร้าหรือความเครียด
  • การควบคุมสภาพแวดล้อม : การมีห้องแยกช่วยให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายในห้องได้, เช่น การควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, และการลดเสียงรบกวนภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อการฟื้นฟูของผู้ป่วย
  • การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ : การมีห้องแยกช่วยลดความสับสนในการจัดเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์, ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเฝ้าระวัง : การมีห้องแยกช่วยให้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบและเฝ้าระวังสภาพของผู้ป่วยได้ให้มากขึ้น

การมีห้องแยกในหน่วย (ICU) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นในสถานการณ์ที่รุนแรง และฉุกเฉิน

12 ประการที่ต้องเจอ

รู้ไว้ก่อนไป ICU ความจริง 12 ประการที่ต้องรู้

ความจริงประการที่ 1 ธรรมชาติแห่งไอซียู

คนไข้ใน “ไอซียู” ส่วนใหญ่เป็นคนไข้ภาวะวิกฤต สภาวะต่างๆ ของคนไข้สามารถพลิกผันไปได้ทั้งในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงง่ายราวกับพลิกผ่ามือในทุกๆ นาทีที่เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่ผิดหากจะกล่าวว่า ธรรมชาติของ “ไอซียู” คือ ความไม่แน่นอน แต่สิ่งที่แน่นอนอย่างหนึ่งของไอซียู ก็คือ “ทีมบุคลากรเวชบำบัดวิกฤต หรือทีมไอซียู” ที่มีความพร้อมทั้งความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เป็นที่ๆ มีศักยภาพสูงสุดในโรงพยาบาล และทุกๆ คนในทีมไอซียู ก็พร้อมที่จะเดินเคียงข้าง พร้อมช่วยประคับประคองคนไข้ตลอดช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานนี้จนวิกฤตผ่านพ้นไป ให้คนไข้ได้กลับมาสวยงามยิ่งกว่าเดิมเหมือนฟ้าหลังฝนในที่สุด

ความจริงประการที่ 2 สู่สุดยอดแห่งการรักษา
คนไข้หนักแต่ละรายที่เข้ารับการรักษาใน ไอซียู ล้วนแต่กำลังได้รับการรักษาในระดับสุดยอดทั้งสิ้น เพื่อให้คนไข้หนักเหล่านั้นมีโอกาศรอดชีวิตสูงสุดนั้นเอง นั้นคือ สุดยอด 6 ประการ ดังนี้

  • สุดยอดแห่งการรักษา : ประกอบไปด้วย “คนดี ของดี ระบบดี และความรู้ดี” เปรียบกับ “ไอซียู” ไม่ต่างจากห้อง “วีไอพี” หรือห้องสูทระดับโรงแรมห้าดาว นั้นเอง
  • สุดยอดแห่งหมอ : มีหมอที่ได้รับการฝึกฝน ด้านความรู้และทักษะเฉพาะทางการดูแลคนไข้หนักเป็นอย่างดี
  • สุดยอดแห่งทีม : มีผู้ร่วมงานหลากหลายสาขาวิชาชีพมาเกี่ยวข้อง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
  • สุดยอดแห่งเครื่องมือ : มีเครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยโรค ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาวะของร่างกาย และใช้บำบัดการรักษา หรือประคับประคองอวัยวะต่างๆ ที่ล้มเหลว เครื่องมือเหล่านี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสูง
  • สุดยอดแห่งยา : ยาที่ใช้มีคุณภาพ และมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เหมาะกับคนไข้ภาวะวิกฤต
  • สุดยอดแห่งค่าใช้จ่าย : เมื่อมีการรักษาระดับสุดยอดทั้งด้านคน เครื่องมือ และยา ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ย่อมแพงเป็นเงาตามตัว

ความจริงประการที่ 3 หลากหลายสาขาร่วม

ในไอซียู มีบุคลากรจากหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมดูแลคนไข้แต่ละราย เช่น แพทย์ที่ปรึกษา พยาบาลประจำไอซียู เภสัชกร นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด เป็นต้น เพื่อให้คนไข้ได้มีโอกาสฟื้นตัวเร็วที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็มีคุณหมอคนหนึ่งเป็นเจ้าภาพหลัก หรือเป็นเจ้าของไข้ในการดูแลคนไข้วิกฤตเสมอ

ความจริงประการที่ 4 รวมพลช่วยปอด

เมื่อญาติของท่านไม่สามารถหายใจได้เอง เกิดภาวะ “หายใจล้มเหลว” จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมกับการประคับประคองการหายใจด้วยอุปกรณ์การให้ออกซิเจน โดยแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ การช่วยหายใจ หากคนไข้พอหายใจเองได้ หมออาจพิจารณาให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก หรือสายสอดจมูก แต่สำหรับคนไข้ที่หายใจเองไม่ได้ หมอจะพิจารณาการช่วยหายใจผ่านท่อเพื่อต่อกับเครื่องช่วยหายใจ แต่หลายรายอาจต้องลงเอยที่ “การเจาะคอ” ซึ่งจะสามารถได้รับการช่วยหายใจอย่างปลอดภัยในระยะยาว

ความจริงประการที่ 5 ถึงช็อกก็รอด

ช็อก เป็นภาวะที่ระบบไหลเวียนโลหิต ไม่สามารถส่งเลือด ซึ่งจะนำพาออกซิเจน และอาหารไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้เพียงพอ ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว อาจเสียชีวิตได้ ภาวะนี้จำเป็นต้องรักษาโดยเร็วที่สุด โดยแก้ไขที่ต้นเหตุ ร่วมกับการประคับประคองอวัยวะต่างๆ รวมทั้งให้สารน้ำ ยากระตุ้นหัวใจเพื่อเพิ่มความดันโลหิต เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสรอดชีวิตมากถึงร้อยละ 60 โดยการรักษามีแนวทางดังนี้

  • การรักษาให้คนไข้พ้นภาวะช็อก
    ทำได้โดยการให้สารน้ำ หรืออาจต้องให้เลือด แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่นน้ำท่วมปอด อาจได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำใหญ่เพื่อให้น้ำเกลือโดยเร็ว และวัดความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง เพื่อช่วยการประเมินความเพียงพอของสารน้ำ
  • การรักษาสาเหตุของภาวะช็อก
    การให้สารน้ำ หรือเลือดปริมาณมากเพียงใด หากสาเหตุยังไม่ถูกกำจัด ก็ไม่สามารถรักษาได้ เช่น คนไข้ที่เสียเลือดมากจำเป็นต้องได้รับการหยุดเลือด คนไข้ที่ช็อกจากสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนมีการบีบตัวผิดปกดิจำเป็นต้องได้รับการขยายหลอดเลือดหรือผ่าตัด คนไข้มีอาการติดเชื้อรุนแรงจำเป็นต้องได้ยาที่มีฤทธิ์รุนแรง การกำจัดสาเหตุอาจต้องทำหัตถการต่างๆ ที่มีความเสี่ยง ทีมหมอผู้เกี่ยวข้องจะพูดคุยเพื่อหาหนทางที่เหมาะสมกับการรักษาเสมอ
  • การประคับประคองการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานผิดปกติอันเนื่องจากภาวะช็อก
    ภาวะช็อก ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ล้มเหลว ช็อกไปสักระยะหนึ่ง จะหายใจล้มเหลว ในที่สุดหมอต้องพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ และต่อเครื่องช่วยหายใจ อาจเกิดภาวะไตวาย หมออาจพิจารณา ฟอกไต เป็นต้น

ความจริงประการที่ 6 ไม่อิดออดเรื่องอาหาร

อาหารมีความจำเป็นในคนไข้ที่เข้ามารักษาในไอซียูทุกราย หากไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ การให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหารตามปกติเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ กรณีการให้ในเส้นทางปกติดังกล่าวไม่ได้ หรือไม่เพียงพอ ก็จำเป็นจะต้องให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำแทน หรืออาจเสริมสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม ดูแลการให้อาหารทางสายยาง โดยให้ผ่านจมูก ปาก หรือทางหน้าท้อง เข้าสู่กระเพาะหรือลำไส้โดยตรง จะช่วยให้คนไข้หายได้เร็วขึ้น และกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้รวดเร็วขึ้น

ความจริงประการที่ 7 ปั๊มหัวใจสานต่อชีวิต

การกู้ชีวิตด้วยการปั๊มหัวใจและช่วยหายใจ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยคนไข้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจให้รอดชีวิตกลับคืนมาเป็นปกติได้ แม้จะมีโอกาสสำเร็จเพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้น แต่หากทำได้ถูกต้องก็จะเพิ่มโอกาสมากขึ้น ทั้งนี้ต้องขึ้นกับประสิทธิภาพ การปั๊มหัวใจ การช่วยหายใจ และไม่มีข้อบ่งชี้ว่าคนไข้รายนั้นมีโอกาศเสียชีวิตสูง ในรายที่มีข้อบ่งชี้อย่างใดอย่างหนึ่ง 5 ประการคือ

  • ไม่มีปฏิกริยาต่อการฉายไฟไปที่รูม่านตา ที่ 24 ชั่วโมง
  • ไม่มีปฏิกริยาต่อการสัมผัสด้วยใยสำลีที่กระจกตา ที่ 24 ชั่วโมง
  • ไม่มีการดึงมือและเท้าหนีเมือถูกกระตุ้นด้วยความเจ็บปวด ที่ 24 ชั่วโมง
  • ไม่มีการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ที่ 24 ชั่วโมง
  • ไม่มีการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ที่ 72 ชั่วโมง

ความจริงประการที่ 8 วิกฤต ล้วนไม่แน่

คนไข้ในไอซียูแตกต่างอย่างชัดเจนกับคนไข้อื่น ความไม่แน่นอนในเหตุการณ์ต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในทางที่ดี และไม่ดี จึงไม่สามารถประเมินล่วงหน้าได้ว่าคนไข้จะดีขึ้นหรือแย่ลง เมื่ออยู่ในไอซียู แต่ความไม่แน่นอนเหล่านั้นส่วนใหญ่สามารถควบคุม จัดการดูแล โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจากทีมหมอและพยาบาล ร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำในปัจจุบัน แต่ท้ายที่สุดแล้ว การสูญเสียเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะได้รับการรักษาที่สุดยอดจากทีมไอซียูแล้วก็ตาม

ความจริงประการที่ 9 ขอแค่เตรียมพร้อม

การเข้ามาอยู่ในไอซียู ย่อมต้องการ การเตรียมความพร้อมทั้งคนไข้และญาติ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ของใช้ส่วนตัว การเตรียมญาติ 1-2 คนที่สามารถตัดสินใจแทนคนไข้ได้ในยามฉุกเฉิน เตรียมใจให้พร้อม เนื่องจากผู้ป่วยอาการหนักมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยญาติที่เป็นตัวแทนคนไข้ต้องพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในทีมผู้รักษา โดยร่วมกันกำหนดแผนการรักษาต่างๆ โดยการพูดคุยกับหมอเป็นระยะ เพื่อความเหมาะสมและตรงตามประสงค์ของตัวคนไข้เอง

ความจริงประการที่ 10 น้อมใจ ยอมรับ

ในการที่คนไข้เข้ามารับการรักษา ทุกคนรวมถึงครอบครัวล้วนคาดหวังกับการรักษาเพื่อให้คนไข้มีชีวิตรอด เมื่อผลการรักษาไม่เป็นดังหวัง คนไข้มีอาการทรุดลง อาจเสียชีวิตในไม่ช้า ทีมหมอและพยาบาลจะพูดคุยกับญาติ เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษา จากเดิมเพื่อให้หายขาด อาจกลายเป็นแบบประคับประคอง โดยต้องยอมรับความจริงที่ว่าโรคนั้นยังคงอยู่ แต่ช่วยให้คนไข้ไม่ทุกข์ทรมานจนเกินไป กระบวนการนี้ จะช่วยลดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจลงได้อย่างมาก ทำให้ช่วงสุดท้ายของชีวิตคนไข้สามารถดำเนินไปตามธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้จากไปมีความสุขสงบอย่างแท้จริง

ความจริงประการที่ 11เมื่อวิกฤตลับตา

คนไข้ที่ผ่านภาวะวิกฤต นั้นไม่ได้หมายถึงคนไข้ปลอดภัยไร้โรคโดยสิ้นเชิง แม้ภายหลังหลังออกจากไอซียู หรือที่บ้านแล้วก็ตาม พวกเขายังคงต้องผ่านกระบวนการฟื้นฟู รักษา จัดการปัญหาที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเครียด ซึมเศร้า กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นต้น การทำความเข้าใจและเตรียมรับมือกับปัญหา เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับญาติทุกๆ คน ที่จะต้องช่วยและมีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อประคับประคองจนกลับบ้าน และกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ดังเดิม

ความจริงประการที่ 12 หนนี้ อาจราคาแพง

เนื่องจากคนไข้แต่ละรายล้วนอยู่ในภาวะวิกฤต จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลพิเศษ ค่าใช้จ่ายที่สูงนี้จึงเกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นยา เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีราคาแพง วัสดุที่มีคุณภาพสูง บุคลากรต้องชำนาญ เหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่แพงมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มั่นใจว่าความแพงนี้ จะไม่เป็นสาเหตุให้แพทย์ละเว้นการรักษาได้เลย ไม่ว่าจะเป็นไอซียูในโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ตาม

 

แยกคนไข้ ICU หนัก / เบา นอนกี่วัน ราคาเท่าไร ปี 2023

• ผู้ป่วยหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจ / อุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่น ๆ เช่น ติดตามการทำงานหัวใจ ล้างไต เป็นต้น นอนเฉลี่ย 4 วัน ราคา 26,419.43 บาทต่อวัน
• ผู้ป่วยหนักที่จำเป็นต้องใช้ Oxygen และติดตามการทำงานหัวใจ นอนเฉลี่ย 2 วัน ราคา 16,470.05 บาทต่อวัน
• ผู้ป่วยที่ต้องติดตามอาการใกล้ชิด ใช้เครื่องติดตามการทำงานหัวใจ นอนเฉลี่ย 1.5 วัน ราคา 12,287.80 บาทต่อวัน

 

อัตราการรอดชีวิต
ปี 2023 = 96.38%

แหล่งที่มา :

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ