ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) คือภาวะที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าปกติจนอวัยวะสําคัญ ๆ เริ่มทํางานผิดปกติ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอาจรุนแรงมากขึ้นจนเกิดภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว และทำให้อวัยวะในร่างกายล้มเหลวได้ ซึ่งจะเกิดจากการติดเชื้อในส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น เมื่อเกิดการติดเชื้ออวัยวะต่างๆในร่างกายจะมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะในร่างกาย
ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันน้อยลง ละสามารถนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายไประบบต่างๆ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีก ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกาย ลดลง และอาจเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กอุดตันในเส้นเลือดฝอย ทำให้เกิดอวัยวะล้มเหลวได้ เช่น การหายใจล้มเหลว ไตวายเฉียบพลัน
ผู้ที่ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด
- ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี HIV
- เด็ก และผู้สูงอายุ มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดมากกว่าวัยรุ่น วัยทำงาน
เนื่องจากเด็กเล็ก และผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าวัยอื่นๆ หากมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่แข็งแรงอยู่แล้ว จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดมากกว่า - ผู้ที่มีโรคประจำตัว
เช่น โรคตับแข็ง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง เอดส์ เป็นต้น เพราะร่างกายอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ - การสอดใส่อุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปในร่างกาย
หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องสวนทวาร สวนปัสสาวะ หรือสอดท่อต่างๆ เข้าไปในคอ หรือตามส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ต้องระมัดระวังให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสะอาด ปราศจากเชื้อโรค เพราะผู้ป่วยจะอยู่ในสภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำแล้ว เชื้อโรคจากอุปกรณ์ที่สามารถ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ และนำไปสู่ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ - ความเจ็บป่วย
แน่นอนว่าเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นโรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ เมื่อนั้นเชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายจนทำให้ติดเชื้อได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก เป็นต้น
- มีไข้สูงเกิด 38.3 องศาเซลเซียส
- ชีพจรเต้นเร็วเกิน 90 ครั้งต่อนาที (ผู้ใหญ่)
- หายใจเร็วเกิน 24 ครั้งต่อนาที (ผู้ใหญ่)
- เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
- ความดันโลหิตต่ำ จนอาจมีอาการช็อก
- หากติดเชื้อในอวัยวะบางส่วน ก็จะมีอาการเฉพาะส่วน เช่น ปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือไอ และเจ็บที่หน้าอก เมื่อมีอาการติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น
- การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว เช่น ไต ปอด หัวใจ จนสุดท้ายเสียชีวิต
การป้องกันอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
- รักษาสภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อย่าป่วยบ่อย
- ทานอาหารให้เป็นประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นครั้งคราว เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบ
- ตรวจร่างกายสม่ำเสมอทุกปี
- ใครที่มีโรคประจำตัวต้องไปตามที่หมอนัด และทานยาอย่างเคร่งครัด
จะเห็นได้ว่าภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพียงแค่ร่างกายอ่อนแอหรือมีระบบภูมิคุ้มกันลดลง เชื้อโรคต่างๆที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย หากใครที่สงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เนื่องจากเป็นภาวะที่ส่งผลอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตได้
นอกจากนี้การดูแลตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยนั้นมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะป้องกันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ยังรวมถึงภาวะอื่นๆ ที่เป็นภัยต่อร่างกายอีกด้วย
ขอขอบพระคุณข้อมูล จาก โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ และโรงพยาบาลเปาโล