ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

รายละเอียดตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

ราคา : 2,250 บาท

เริ่มตั้งแต่วันที่ : 22/ธ.ค./2023

แพคเกจหมดอายุวันที่ : 31/ธ.ค./2024

เช็คความพร้อมของร่างกายก่อนมีลูกทั้งคุณแม่ และคุณพ่อ

  1. เพื่อสกัดกั้นการส่งผ่านโรคสู่คนที่เรารัก เช่น ซิฟิลิสไวรัสตับอักเสบ
  2. เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ที่สมบูรณ์ เมื่ออายุมากจะมีภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์
  3. เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ธาลัสซีเมีย
  4. ตรวจหาโรคประจำตัว ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงของโรคมากขึ้นหากมีการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน

 

ตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร
ตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร

เงื่อนไขการใช้บริการ

  1. ราคานี้เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567
  2. รับบริการได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ชั้น 4
  3. ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดการตลาดอื่นๆได้
  4. โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
เคล็ดลับมีลูก
เคล็ดลับมีลูก

แจกเคล็ดลับมีลูกด้วย 7 ข้อเด็ด

  • ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

เริ่มด้วยการมาพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพของว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ให้พร้อม เพราะถึงแม้ว่าร่างกายภายนอกจะดูแข็งแรงดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภายในจะสมบูรณ์ด้วย การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เป็นการตรวจหาโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น เบาหวาน ธาลัสซีเมีย หากว่าที่คุณแม่หรอคุณพ่อมีโรคเหล่านี้แฝงอยู่ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ ถ้าตรวจสุขภาพแล้วพบปัญหาก่อน จะได้ทำการรักษาให้อาการอยู่ในระดับที่ปกติหรือพร้อมที่จะมีบุตร และเมื่อตั้งครรภ์แล้วจะได้ตรวจความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ในแต่ระยะ การรู้ก่อนและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ย่อมทำให้การตั้งครรภ์ปลอดภัยกว่า

  • เสริมกรดโฟลิกเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

เพราะกรดโฟลิกมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย ว่าที่คุณแม่สามารถเสริมกรดโฟลิกได้ตั้งแต่เริ่มวางแผนการมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อสุขภาพที่ดี ควรเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่ตอนนี้หรือตั้งแต่คิดจะมีบุตร จะเลือกออกกำลังกายแบบ เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค หรือเล่นโยคะก็ได้ ซึ่งการเล่นโยคะถือเป็นวิธีที่ดีเพราะจะได้ฝึกท่าทาง การหายใจ และสมาธิได้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเมื่อได้เรียนรู้และสามารถนำไปปรับใช้ขณะคลอด

  • ควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสม

การมีน้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ จะสังเกตได้ว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากจะตั้งท้องได้ยากกว่าผู้หญิงที่น้ำหนักปกติถึง 2 เท่า นั่นก็เพราะไขมันในร่างกายมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป ทำให้ส่งผลต่อการตกไข่นั่นเอง

  • กินอาหารให้หลากหลาย เพิ่มสารพัดประโยชน์

เรื่องอาหารการกินก็สำคัญ การกินอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมเต็มที่สำหรับการตั้งครรภ์ลูกน้อย ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลมากเกินไป ควรเลือกกินผักและผลไม้มากๆ หรืออย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน และควรเลือกทานผักและผลไม้หลากหลายสี กินอาการประเภทแป้งให้เพียงพอ เช่น ขนมปัง พาสต้า ข้าว (ถ้าเป็นข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลเกรนจะยิ่งดีเพราะมีโฟเลตสูง) ข้าวโอ๊ต และมันฝรั่ง ไม่ลืมที่จะกินอาหารที่มีโปรตีนทุกมื้อ เช่น หมู ไก่ ปลา นม หรือไข่ เป็นต้น

  • งดการใช้ยาบางประเภท

ยาบางชนิดอาจมีส่วนลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ หากวางแผนที่จะมีลูกก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่าตัวยาชนิดไหนส่งผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้… หากเคยคุมกำเนิดมาก่อนที่จะพยายามมีบุตร อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงจะเริ่มมีการตกไข่เป็นปกติอีกครั้ง ทั้งนี้การตั้งครรภ์ทันทีหลังหยุดยาคุมจะไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่การหยุดรับประทานยาคุมกำเนิดล่วงหน้าก็มีส่วนช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นและทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ง่ายขึ้น

  • เลิกพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลูกน้อย

งดดื่มแอลกอฮฮล์ ไม่ว่าจะปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็ตาม เพราะแอลกอฮอล์ คือสารก่อความพิการ และเป็นสาเหตุของเด็กที่มีพัฒนาการช้าที่พบได้บ่อย ดังนั้นควรเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ สมาคมโรคปอดแห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่าการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกแรกเกิดร้อยละ 20-30 มีน้ำหนักตัวน้อย มีโอกาสเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดถึงร้อยละ 14 และประมาณร้อยละ 10 ของทารกเสียชีวิตเนื่องจากแม่ที่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่ ไม่เพียงแต่อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการของทารกในครรภ์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกอีก ทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการดูแลตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ใช่แค่เฉพาะว่าที่คุณแม่เท่านั้นที่ต้องทำ บางอย่างว่าที่คุณพ่อก็สามารถทำไปพร้อมๆ กับคุณแม่ได้ อย่าลืมว่า!! ถ้าอยากตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์ก็ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายให้แข็งแรง

 

รายละเอียดอื่น ๆ ของแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

ซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

ชำระเงินได้ตามรายละเอียดนี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บจก. โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก
เลขบัญชี 426-413-1006
หรือ   SCAN QR CODE ข้างล่างนี้