tonsil stones

นิ่วทอนซิล มีกลิ่นปาก

มีกลิ่นปาก แปรงฟันยังไงก็ไม่หาย แถมยังรู้สึกระคายเคืองคอ รู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอเวลากลืนอาหารหรือดื่มน้ำ อาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนของ “นิ่วทอนซิล” การสะสมของแบคทีเรียที่แม้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่หากไม่รีบรักษาการติดเชื้อที่เรื้อรังจะส่งผลให้กลิ่นปากทวีความรุนแรง จนคุณอาจไม่กล้าอ้าปากพูดกับใครเลย!

“นิ่วทอนซิล” คืออะไรกัน?
นิ่วทอนซิล หรือ Tonsil Stones เป็นการรวมตัวกันของแบคทีเรียและเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ตามซอกหลืบและเกิดอุดที่บริเวณท่อทอนซิล ซึ่งนิ่วทอนซิลจะมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวเหลืองขุ่นๆ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวหรือเมล็ดถั่ว แม้ว่าจะไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่นิ่วทอนซิลนี้จะส่งผลให้เกิดกลิ่นปากได้

กลิ่นปาก…เกี่ยวข้องกับ “นิ่วทอนซิล” ได้อย่างไร
เมื่อเกิดการหมักหมมของทั้งเศษอาหาร เศษเนื้อที่ตายแล้ว และน้ำลาย จึงเรียกได้ว่าเป็นการรวมตัวกันของแบคทีเรียชั้นดีที่ส่งผลให้มีกลิ่นปากหรือลมหายใจเหม็น นอกจากนี้ก้อนนิ่วทอนซิลยังอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก หรือทอนซิลบวมได้

“นิ่วทอนซิล” ปัญหานี้…รักษาได้!

  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หากไม่แน่ใจว่าปัญหาเรื่องกลิ่นปากที่เผชิญอยู่เกิดจากนิ่วทอนซิลหรือไม่ ให้ลองบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เพื่อให้ก้อนนิ่วทอนซิลค่อยๆ หลุดออกมา พร้อมทั้งช่วยลดการระคายเคืองในช่องคอ
  • ใช้สำลีเขี่ยออก เพราะก้อนนิ่วมักมีขนาดเล็กมาก การกำจัดก้อนนิ่วด้วยสำลีจึงอาจทำได้ยาก ที่สำคัญ! สำลีที่ใช้จะต้องสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และเขี่ยอย่างเบามือเพื่อลดความเสี่ยงที่ก้อนนิ่วจะเข้าไปใน
  • ทอนซิลลึกกว่าเดิม ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่า
  • รักษาด้วยการผ่าตัด ในการกำจัดก้อนนิ่วทอนซิลด้วยการผ่าตัด อาจใช้วิธีการผ่าตัดด้วยเลเซอร์เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบริเวณที่มีนิ่วทอนซิล หรือการผ่าตัดต่อมทอนซิลในกรณีที่อาการเรื้อรัง

ป้องกันการเกิดซ้ำ…ด้วยการดูแลช่องปากและฟัน

  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน โดยการแปรงฟันแบบถูกวิธีและเน้นการแปรงบริเวณหลังลิ้น
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดการก่อตัวของก้อนนิ่ว
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบ
  • หากพบความผิดปกติของต่อมทอนซิล ควรปรึกษาแพทย์

ปรึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
Facebook : https://www.facebook.com/
Line : https://lin.ee/h3jcNOO

แหล่งที่มา :

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล
https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Home

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ