อหิวาตกโรค อันตรายแค่ไหน?

อหิวาตกโรค เป็นโรคท้องเสียที่มีอาการรุนแรง และระบาดได้รวดเร็ว ในอดีตเคยมีการระบาดของโรคนี้จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงถูกเรียกว่า “โรคห่า” ในปัจจุบันความรุนแรงของโรคลดลง ระบาดน้อยลง โรคนี้มักพบในช่วงฤดูร้อน และพบในชุมชนที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี

การติดต่อ ทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือเมื่อมือของผู้ป่วยไปสัมผัสกับเครื่องใช้สิ่งของต่างๆ แล้วมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรคไปสู่คนอื่นๆ

อาการ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ เป็นเพียงพาหะหรือแหล่งสะสม แล้วค่อยแพร่เชื้อโรคไปยังคนอื่น ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง จะปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลววันละหลายครั้ง อาจหายเป็นปกติภายใน 1 – 2 วัน ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรง จะถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นคาวจัด อาจอาเจียน หากไม่รีบไปพบแพทย์ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ จนเกิดอาการอ่อนเพลีย ปากแห้ง กระหายน้ำ กระสับกระส่าย ตาลึกโหล ชีพจรเต้นเบา จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษา หากอาการท้องเสียรุนแรง ซึ่งชวนสงสัยว่าเป็นอหิวาต์ แพทย์จะพิจารณาเก็บอุจจาระส่งเพาะเชื้อ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(ให้น้ำเกลือ) รับประทานยาฆ่าเชื้อตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อรักษาได้ทันการณ์ มักจะหายขาดภายในไม่กี่วัน โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด อันตรายมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาช้าเกินการณ์คือ ปล่อยให้มีภาวะขาดน้ำรุนแรง

การป้องกัน

  • รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม
  • ดื่มน้ำสะอาด
  • สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ควรนำอาเจียนและอุจจาระของผู้ป่วยไปเทใส่ส้วมหรือฝังดินให้มิดชิด ห้ามเทตามพื้นหรือลงแม่น้ำลำคลอง ส่วนเสื้อผ้าของผู้ป่วยที่แปดเปื้อนเชื้อควรนำไปฝังหรือเผาเสีย ห้ามนำไปซักในแม่น้ำลำคลอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นในชุมชน
  • อาจมีการเก็บอุจจาระของคนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยส่งตรวจหาเชื้อ หากมีการติดเชื้อจะได้ทำการรักษาทันท่วงที
  • ล้างมือก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง เก็บอาหารในฝาชี หรือใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด รวมถึงการถ่ายอุจจาระในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โรงพยาบาลพญาไท

 

แหล่งที่มา :

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

รักษาโรคภูมิแพ้

รักษาโรคภูมิแพ้ พิษณุโลก

โรคนี้มีสาเหตุนึงมาจากพันธุกรรม ดังนั้นหากมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ อาจส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น  และการแสดงอากาแพ้จะแสดงออกมาทางระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

อ่านต่อ »